การสอน

ภาคการศึกษาที่ 2567-1 มีกลุ่มผู้เรียนเป็น นักศึกษาวิศวกรรมเครื่องกล ปี 3 และ ปี 4 และนักศึกษาวิศวกรรมไฟฟ้า ปี 2

ภาคการศึกษา: 2567-1 6142301: วงจรอิเล็กทรอนิกส์

     ลักษณะสมบัติกระแส-แรงดันและแบบจำลองของอุปกรณอิเล็กทรอนิกส์ วงจรขยายพื้นฐานที่ใช้ทรานซิสเตอร์ การไบแอสทรานซิสเตอร์ การวิเคราะห์วงจรขยายสำหรับสัญญาณขนาดเล็กที่ใช้ทรานซิสเตอร์ ผลตอบสนองเชิงความถี่ของวงจรขยายสำหรับสัญญาณขนาดเล็กที่ใช้ทรานซิสเตอร์ วงจรขยายที่มีการป้อนกลับ ออปแอมปและการประยุกต์ใช้กับวงจรแบบเชิงเส้นและไม่เชิงเส้น วงจรกำเนิดสัญญาณ วงจรขยายกำลัง แหล่งจายไฟตรงแบบเชิงเส้นและแหล่งจ่ายไฟตรงแบบวิธีสวิตช์ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ อิเล็กทรอนิกส์กำลัง

ภาคการศึกษา: 2567-1 6144002: โครงงานวิศวกรรมเครื่องกล

     การสร้างหรือปรับปรุงผลงานที่ออกแบบไว้ในโรงฝึกงาน การวิเคราะห์ปัญหาและการแก้ไขปัญหาโดยนำเอาความรู้ที่ศึกษามาประยุกต์ให้เหมาะสมกัยงาน และให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ส่งเสริมให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ในการผลิตผลงาน เน้นการปฏิบัติงานร่วมกันเป็นกลุ่มตามรูปแบบ

ภาคการศึกษา: 2567-1 6144601: ประลองเครื่องจักรอัตโนมัติกับโจทย์ชุมชนท้องถิ่น 2

   ศึกษาและจำลองงานจากโจทย์ชุมชนทองถิ่น โดยมุ่งเน้นไปที่การควบคุมเครื่องจักรผ่านอินเทอรเน็ต ตามโจทย์ชุมชนท้องถิ่นหรือตามโจทย์ของอาจารย์ในสาขามอบหมาย

ภาคการศึกษา: 2567-1 6144602: ประลองหุ่นยนต์ในงานอุตสาหกรรม

     ศึกษาและจำลองงานหุ่นยนต์ในงานอุตสาหกรรม โดยนำความรู้เกี่ยวกับโปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรเลอร์ ไปประยุกตใช้งานตามโจทยจากโรงงานอุตสาหกรรมหรือตามโจทย์ของอาจารย์ในสาขามอบหมาย

ภาคการศึกษา: 2567-1 6152401: การออกแบบวงจรดิจิทัลและวงจรตรรกเบื้องต้น

     ระบบตัวเลขและรหัส พีชคณิตบูลลีน ทฤษฎีบทของเดอร์มอร์แกน ตารางความจริง ลอจิกเกต การเขียนสวิทชิ่งฟังก์ชั่น มินมิเทอมและแม็กซ์เทอม การลดรูปสมการบูลลีนโดยใช้แผนผังคาร์โนห์ การออกแบบ วงจรแบบจัดหมู่ วงจรเข้ารหัส/ถอดรหัส วงจรมัลติเพล็กล็ซ์/ดีมัลติเพล็กซ์ วงจรรวมลอจิกเกตแบบ TTL/CMOS รวมทั้งคุณสมบัติทางไฟฟ้า ฟลิปฟลอปชนิดต่างๆ ชนิดของวงจรลำดับ การออกแบบวงจรเชิงลำดับ วงจรนับ ชิฟต์รีจส์เส์ตอร์ หน่วยความจำ การออกแบบโดยใช้สเตทแมชชีน มัวร์แมชชีนและมีลลีแมชชีน วงจรแปลง สัญญาณแอนาล็อกเป็นดิจิทัล และวงจรแปลงสัญญาณดิจิทัลเป็นแอนาล็อก การจำลองวงจรดิจิทัล และอุปก รณ์ทางลอจิกที่โปรแกรมได้ เช่น PLD, CPLD และ FPGA ไมโครคอมพิวเตอร์และไมโครโปรเซสเซอร์เบื้องต้น